วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤศจิกายน 2558

Start
v
v
v
v

อาจารย์สาธิตวิธีการสอนนิทานปริศนาคำทาย


                  การสอนนิทาน มันคืออะไร? สำหรับเด็กต้องมีการพูดคุย มีคำถามให้เด็กคิดอยู่ตลอดเวลา รู้จักเล่นกับเด็กและชักจูงให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้

ดาด้าคืออะไร
           กลุ่มของเราเองค่ะ >< การสอนเริ่มต้นจากการถามเด็กๆว่า เด็กๆรู้ไหมว่ามันคืออะไรกันน้า ให้เด็กได้ลองทาย จากนั้นก็อ่านคำทายไปเรื่อย พร้อมกับให้เด็กด้แสดงความคิดเห็นว่ามันจะเป็นตัวอะไรน้า และสุดท้ายถึงหน้าเฉลย ก็พูดกับเด็กๆว่า เอ๊ สิ่งที่เด็กๆบอกมามันใช่ตัวนี้ไหมนะ มาดูเฉลยกันเลยดีกว่า และครูควรจะเล่าให้สนุกสนานเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นไม่ควรปิดกั้นความคิดของเด็ก

นิทานของเพื่อนๆ ^^
มันคือผึ้ง
ดึ๋งดึ๋งคือจิงโจ้
มันคือบอลลูน
มันคือเต่า


เนื้อหาการเรียนในวันนี้

ต้อง - สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
          
          เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (หลักสูตรปฐมวัย 46)
  • การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
  • การสื่อสารกับผู้อื่น ประสบการณ์ของตนเอง เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้
  • เด็กได้มีโอกาสฟัง และ มีความเข้าใจ นิทาน กลอน คำคล้องจอง
  • การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
         เขียนภาพ
         ขีดเขี่ยน
         เขียนคล้ายตัวอักษร
         เขียนเหมือนสัญลักษณ์
         เขียนชื่อตนเอง
  • การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
         อ่านภาพ
         อ่านสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
         เรื่องราวที่สนใจ

ตัวอย่าง การจัดสภาพแวดล้อม มุมหนังสือนิทานมีภาพชื่อหนังสือนิทานแปะอยู่ที่ช่องแต่ละช่อง เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 1 เพราะสะดวกในการให้เด็กเอาหนังสือมาเก็บให้ถูกช่อง
สมาชิกในห้อง มีคำอธิบายคำพูดของเด็กอยู่ใต้รูปด้วย ผู้ที่มาอ่านจะได้รู้ตัวตนของเด็กและการแสดงความรู้สึกของเด็ก
                    ต่อมาอาจารย์เปิดวิดีโอที่รุ่นพี่ปี 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมไปศึกษาเด็กปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์




              



                 ได้เห็นสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนว่ามีการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบธรรมชาติและได้เรียนรู้พฤติกรรมของเด็ก  ภายในโรงเรียนจะมีมุมต่างๆที่น่าสนใจและเหมือนจริง  มีการนำผลงานของเด็กมาตกแต่งภายในห้องเรียน ได้เห็นวิธีการสอนของคุณครู มีการให้เด็กลงมือทำเอง เช่น  การทำรังนก การทำยำไข่ และการเล่านิทานให้เด็กที่โรงเรียนพิบูลเวศม์ฟัง เด็กๆ จะตั้งใจฟังกันมาก และช่วยกันตอบคำถามจากนิทานอย่างสนุกสนาน  เห็นผลงานของเด็กที่ทำขึ้นมาด้วยตนเอง 


ใบเขียนแผนการสอน

1 เริ่มจากกำหนดหัวข้อกิจกรรม
2 กำหนดวัตถุประสงค์ ไม่ต้องเยอะเกินไปและควรเขียนในเชิงพฤติกรรมเด็กสิ่งที่เด็กแสดงออกมา จะไม่เขียนคำว่า เข้าใจ
3 ประสบการณ์สำคัญนำมาจากหนังสือหลักสูตร
4 สาระที่ควรเรียนรู้ มาจากหน่วยที่สอนว่าเป็นหน่วยอะไร เช่น ต้นกล้วย ลักษณะของต้นกล้วย ประโยชน์ของต้นกล้วย เป็นต้น
5 กิจกรรมการเรียนรู้ เริ่มจากขั้นนำ ขั้นสอน และสุดท้ายขั้นสรุป
6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
7 การวัดและประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
8 การบูรณาการ คือการนำไปประยุกต์ใช้





การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้ในเรื่องการเล่านิทานมันคืออะไร นำไปเล่าให้เด็กๆฟังได้

- การใช้ ภาษาสร้างสรรค์ สำหรับเด็กจะช่วยทำให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กดีขึ้น เด็กชอบที่จะลองทาย เด็กได้คิด ภาษาของเด็กจะมีเพิ่มมากขึ้น

- การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรจัดให้เหมือนจริง และนำผลงานของเด็กมาตกแต่งด้วย มุมต่าง



ประเมินผล
ประเมินตนเอง - เข้าใจเนื้อหาการเรียนในการเรียนได้ดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้ความรู้เป็นอย่างดี คอยสาธิตให้ดูวิธีการอยู่เสมอ




วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤศจิกายน 2558


เริ่มต้นสำหรับวันนี้ เมื่อมากันครบทุกคนแล้วอาจารย์ให้ดูตัวอย่างหนังสือฝึกเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยมสำหรับครู ซึ่งคล้ายๆกับ การฝึกเขียน ก - ฮ ของเด็กอนุบาลเลยค่ะ





ส่วนเนื้อหาประเด็นสำคัญของวันนี้คือ "สื่อภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย"







.....สื่อภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะคล้ายกับ ปริศนาคำทาย เช่น เรื่อง มันคืออะไร
ฉันตั้งชื่อมันว่าดิ๊งด่อง
ดิ๊งด่องเป็นสิ่งมีชีวิต มี 4 ขา 
ดิ๊งด่องเป็นสิ่งมีชีวิต มี 4 ขา มีเขา
ดิ๊งด่องเป็นสิ่งมีชีวิต มี 4 ขา มีเขา ชอบอยู่ในโคลนตม
ดิ๊งด่องคือควาย ดิ๊งด่องเป็นสิ่งมีชีวิต มี 4 ขา มีเขา ชอบอยู่ในโคลนตม

ลักษณะให้ลองทายไปเรื่อย เเละค่อยๆเผยลักษณะของปริศนาออกมาทีละนิดๆ ถึงหน้าสุดท้ายจึงเฉลยปริศนานั้นๆ.....

กิจกรรมวันนี้ จับกลุ่มคิดปริศนาคำทายมากลุ่มละ 1 เรื่อง





ดาด้าคืออะไร

ฉันตั้งชื่อมันว่าดาด้า
ดาด้าเป็นสิ่งมีชีวิต และมี 4 ขา ดาด้าคืออะไร
ดาด้าเป็นสิ่งมีชีวิต และมี 4 ขา มีสีขาวดำ ดาด้าคืออะไร 
ดาด้าเป็นสิ่งมีชีวิต และมี 4 ขา มีสีขาวดำ ชอบกินไผ่ ดาด้าคืออะไร
ดาด้าเป็นสิ่งมีชีวิต และมี 4 ขา มีสีขาวดำ ชอบกินไผ่ มาจากประเทศจีน ดาด้าคืออะไร
ดาด้าคือหมีแพนด้า ดาด้าเป็นสิ่งมีชีวิต และมี 4 ขา มีสีขาวดำ ชอบกินไผ่ มาจากประเทศจีน

* ลักษณะที่เป็นคำทายให้เปลี่ยนสีปากกาไปเรื่อยๆ 


การนำความรู้ไปประยุกต์
- ได้ความรู้ในเรื่อง การทำสื่อภาษาสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้รู้วิธีการทำ
- การใช้ ภาษาสร้างสรรค์ สำหรับเด็กจะช่วยทำให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กดีขึ้น เด็กชอบที่จะลองทาย เด็กได้คิด ภาษาของเด็กจะมีเพิ่มมากขึ้น

ประเมินผล
ประเมินตนเอง ทำหน้าที่ของตนเองได้ดี คือการคิดเรื่องทั้งหมดและเขียนเนื้อเรื่องลงในกระดาษ
 ผลงานออกมาดี เป็นที่น่าพึงพอใจ ><
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนในกลุ่มและต่างกลุ่มตั้งใจทำงานและช่วยเหลือกัน ทำตามหน้าที่ของตนเองได้ดี
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้ความรู้เป็นอย่างดี คอยสาธิตให้ดูวิธีการอยู่เสมอ






วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤศจิกายน 2558


วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการทดสอบทักษะทางภาษาของนักศึกษาด้วยเสียงของสัตว์ และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ให้นักศึกษาทายว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงของอะไร



    

   



.......กิจกรรมต่อมา ให้นักศึกษายืนเป็นครึ่งวงกลม กิจกรรมทำท่าทางตามจำนวนชื่อของตนเอง เช่น
 ชื่อ ศิริพร ก็ทำ 3 ท่า ท่าอะไรก็ได้ ทำไปเรื่อยๆจบครบทุกคน....


ต่อมา ทบทวนเพลงทั้งหมดเพื่อเตรียมพร้อมในการสอบ ><



เข้าสู่การเรียนที่สำคัญของวันนี้ นั่นคืออออ >> การทดลองเขียนกระดาน 

ช่วยกันขีดเส้น เอ้า ฮึ้ย เล่ ฮึ้ย ><

ลองเขียนกระดาน เขียนให้สวย เขียนให้ตรง เขียนให้เป๊ะ เขียนให้ถูกต้อง เขียนหัวกลมตัวเหลี่ยม
 นั่งเขียนในตำแหน่งที่ไม่บังเด็ก ><  

ภาพบรรยากาศ เพื่อนๆตั้งใจกันมากเลยค่ะ ^^

และ แทน แท่น แท๊นนนน นี่คือผลงานของเราในวันนี้ค่า เขียนประวัติตัวเองด้วยตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม -3- สวยใช่ไหมล่า 5555555


การนำความรู้ไปประยุกต์
- ได้ความรู้ในเรื่องการเขียนกระดาน ตัวหนังสือต้องชัดเจน เป็นหัวกลมตัวเหลี่ยม เขียนให้ตรง และควรเขียนหัวให้กลมๆใหญ่ๆเพื่อจะได้แก้ไขง่ายขึ้น 
- ลักษณะการนั่งเขียน ควรนั่งเขียนในข้างที่เราถนัด เพื่อไม่ให้บังเด็ก

ประเมินผล
ประเมินตนเอง - ตั้งใจเขียนหนังสือ และฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ เขียนหนังสือหน้ากระดานได้ค่อนข้างดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเขียน และเขียนออกมาได้สวยมาก
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้ความรู้เป็นอย่างดี คอยสาธิตให้ดูวิธีการอยู่เสมอ