วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤศจิกายน 2558

Start
v
v
v
v

อาจารย์สาธิตวิธีการสอนนิทานปริศนาคำทาย


                  การสอนนิทาน มันคืออะไร? สำหรับเด็กต้องมีการพูดคุย มีคำถามให้เด็กคิดอยู่ตลอดเวลา รู้จักเล่นกับเด็กและชักจูงให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้

ดาด้าคืออะไร
           กลุ่มของเราเองค่ะ >< การสอนเริ่มต้นจากการถามเด็กๆว่า เด็กๆรู้ไหมว่ามันคืออะไรกันน้า ให้เด็กได้ลองทาย จากนั้นก็อ่านคำทายไปเรื่อย พร้อมกับให้เด็กด้แสดงความคิดเห็นว่ามันจะเป็นตัวอะไรน้า และสุดท้ายถึงหน้าเฉลย ก็พูดกับเด็กๆว่า เอ๊ สิ่งที่เด็กๆบอกมามันใช่ตัวนี้ไหมนะ มาดูเฉลยกันเลยดีกว่า และครูควรจะเล่าให้สนุกสนานเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นไม่ควรปิดกั้นความคิดของเด็ก

นิทานของเพื่อนๆ ^^
มันคือผึ้ง
ดึ๋งดึ๋งคือจิงโจ้
มันคือบอลลูน
มันคือเต่า


เนื้อหาการเรียนในวันนี้

ต้อง - สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
          
          เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (หลักสูตรปฐมวัย 46)
  • การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
  • การสื่อสารกับผู้อื่น ประสบการณ์ของตนเอง เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง สามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้
  • เด็กได้มีโอกาสฟัง และ มีความเข้าใจ นิทาน กลอน คำคล้องจอง
  • การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
         เขียนภาพ
         ขีดเขี่ยน
         เขียนคล้ายตัวอักษร
         เขียนเหมือนสัญลักษณ์
         เขียนชื่อตนเอง
  • การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
         อ่านภาพ
         อ่านสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
         เรื่องราวที่สนใจ

ตัวอย่าง การจัดสภาพแวดล้อม มุมหนังสือนิทานมีภาพชื่อหนังสือนิทานแปะอยู่ที่ช่องแต่ละช่อง เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 1 เพราะสะดวกในการให้เด็กเอาหนังสือมาเก็บให้ถูกช่อง
สมาชิกในห้อง มีคำอธิบายคำพูดของเด็กอยู่ใต้รูปด้วย ผู้ที่มาอ่านจะได้รู้ตัวตนของเด็กและการแสดงความรู้สึกของเด็ก
                    ต่อมาอาจารย์เปิดวิดีโอที่รุ่นพี่ปี 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมไปศึกษาเด็กปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์




              



                 ได้เห็นสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนว่ามีการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบธรรมชาติและได้เรียนรู้พฤติกรรมของเด็ก  ภายในโรงเรียนจะมีมุมต่างๆที่น่าสนใจและเหมือนจริง  มีการนำผลงานของเด็กมาตกแต่งภายในห้องเรียน ได้เห็นวิธีการสอนของคุณครู มีการให้เด็กลงมือทำเอง เช่น  การทำรังนก การทำยำไข่ และการเล่านิทานให้เด็กที่โรงเรียนพิบูลเวศม์ฟัง เด็กๆ จะตั้งใจฟังกันมาก และช่วยกันตอบคำถามจากนิทานอย่างสนุกสนาน  เห็นผลงานของเด็กที่ทำขึ้นมาด้วยตนเอง 


ใบเขียนแผนการสอน

1 เริ่มจากกำหนดหัวข้อกิจกรรม
2 กำหนดวัตถุประสงค์ ไม่ต้องเยอะเกินไปและควรเขียนในเชิงพฤติกรรมเด็กสิ่งที่เด็กแสดงออกมา จะไม่เขียนคำว่า เข้าใจ
3 ประสบการณ์สำคัญนำมาจากหนังสือหลักสูตร
4 สาระที่ควรเรียนรู้ มาจากหน่วยที่สอนว่าเป็นหน่วยอะไร เช่น ต้นกล้วย ลักษณะของต้นกล้วย ประโยชน์ของต้นกล้วย เป็นต้น
5 กิจกรรมการเรียนรู้ เริ่มจากขั้นนำ ขั้นสอน และสุดท้ายขั้นสรุป
6 สื่อและแหล่งเรียนรู้
7 การวัดและประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
8 การบูรณาการ คือการนำไปประยุกต์ใช้





การนำความรู้ไปประยุกต์

- ได้ความรู้ในเรื่องการเล่านิทานมันคืออะไร นำไปเล่าให้เด็กๆฟังได้

- การใช้ ภาษาสร้างสรรค์ สำหรับเด็กจะช่วยทำให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กดีขึ้น เด็กชอบที่จะลองทาย เด็กได้คิด ภาษาของเด็กจะมีเพิ่มมากขึ้น

- การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรจัดให้เหมือนจริง และนำผลงานของเด็กมาตกแต่งด้วย มุมต่าง



ประเมินผล
ประเมินตนเอง - เข้าใจเนื้อหาการเรียนในการเรียนได้ดี
ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้ความรู้เป็นอย่างดี คอยสาธิตให้ดูวิธีการอยู่เสมอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น